วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

0 ภาษาภาคกลาง

ภาษาถิ่นภาคกลาง
ภาษากลางได้แก่ภาษาที่ใช้พูดกันในจังหวัดภาคกลางของ ประเทศไทย เช่น สุพรรณบุรี อ่างทอง ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ภาษาภาคกลางที่สำคัญ คือ ภาษากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นภาษาราชการ และเป็นภาษาประจำชาติ
การแบ่งภาษาถิ่นเป็นการแบ่งอย่างคร่าวๆ ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงแล้วภาษาในแต่ละภาคก็ไม่เหมือนกันทีเดียว มีความผิดเพี้ยนกันไปบ้าง ภาษากรุงเทพฯ ถือเป็นภาษาถิ่นภาคกลางที่ยอมรับกันว่าเป็นภาษามาตรฐานที่กำหนดให้คนในชาติใช้ร่วมกัน เพื่อสื่อสารให้ตรงกัน แต่ภาถิ่นทุกภาษามีศักดิ์ศรีความเป็นภาษาเท่าเทียมกัน ถ้าเราเข้าใจและสามารถใช้ภาษาถิ่นได้ จะทำให้สื่อสารสัมฤทธิ์ผลและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันยิ่งขึ้น ความแตกต่างระหว่างภาษาถิ่นในประเทศไทย
ภาษาถิ่น ต่างๆ ในประเทศไทย มีความแตกต่างกันในแต่ละถิ่น ดังนี้
ความแตกต่างด้านเสียง
ภาษาถิ่นแตกต่างจากภาษากลางหรือภาษามาตรฐาน เพราะความแตกต่างของเสียงต่างๆ อาทิ เสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน เช่น ความแตกต่างด้านความหมาย คำในภาษาถิ่นต่างๆ อาจมีเสียงตรงกันหรือใกล้เคียงกัน แต่มีความหมายของคำไม่ตรงกัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้
๑ ภาษามาตรฐานมีความหมายกว้างกว่าภาษาถิ่น เช่น คำว่า น้ำตาล ในภาษามาตรฐาน หมายถึง วัตถุที่มีรสหวาน โดมาจากอ้อย ตาล มะพร้าว ส่วนในภาษาถิ่นใต้ หมายถึง น้ำตาลสดเท่านั้น
๒ ภาษาถิ่นมีความหมายกว้างกว่าภาษามาตรฐาน เช่น คำว่า ชมพู่ ในภาษามาตรฐาน หมายถึง ผลชมพู่ แต่ในภาษาถิ่นใต้จะหมายถึง ผลชมพู่ หรือผลฝรั่งก็ได้ เป็นต้น
ระดับภาษา
ระดับภาษาแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ ภาษาแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
๑ ภาษาแบบเป็นทางการ ภาษาแบบนี้ใช้ในโอกาสำคัญๆ ทั้งที่เป็นพิธีการ เช่น ในงานราชพิธีและในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการ เช่น การกล่าวเปิดการประชุมต่างๆ การกล่าวคำปราศรัย และการประกาศ เป็นต้น ภาษาแบบเป็นทางการอาจจัดเป็น ๒ ระดับคือ ภาษาระดับพิธีการ และภาษาระดับมาตรฐานราชการหรือภาษาระดับทางการ
๑.๑ ภาษาระดับพิธีการ มีลักษณะเป็นภาษาที่สมบูรณ์แบบและมีรูปประโยคความซ้อนในความหมายขายค่อนข้างมาก ถ้อยคำที่ใช้ก็เป็นภาษาระดับสูง จึงงดงามไพเราะและประณีต ผู้ใช้ภาษาระดับนี้จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง นอกจากใช้ในโอกาสสำคัญ เช่น ในงานพราชพิธีแล้ว ภาษาระดับพิธีการยังใช้ในวรรณกรรมชั้นสูงอีกด้วย
๑.๒ ภาษาระดับมาตรฐานราชการ แม้ภาษาระดับนี้จะไม่อลังการเท่าภาษาระดับพิธีการ แต่ก็เป็นภาษาระดับสูงที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบและถูกหลักไวยากรณ์ มีความชัดเจน สละสลวย สุภาพ ผู้ใช้ภาษาจึงต้องใช้รายละเอียดประณีตและระมัดระวัง ต้องมีการร่าง แก้ไข และเรียบเรียงไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการในการกล่าวคำปราศรัย การกล่าวเปิดการประชุม การกล่าวคำประกาศเกียรติคุณ นอกจากนี้ยังใช้ในการเขียนผลงานวิชาการ เรียงความ บทความวิชาการ หนังสือราชการ และคำนำหนังสือต่างๆ เป็นต้น
๒ ภาษาแบบไม่เป็นทางการ เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน สามาจัดเป็น ๓ ระดับ คือภาษากึ่งทางการ ภาษาระดับกึ่งทางกลาง ภาษาระดับสนทนา และภาษากันเองหรือภาษาปาก
๒.๑ ภาษาระดับกึ่งทางราชการ มีลักษณะที่ยังคงความสุภาพอยู่ แต่ผู้ใช้ภาษาก็ไม่ระมัดระวังมากเท่าการใช้ภาษาเป็นทางการ เพราะอาจใช้รูปประโยคง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ถ้อยคำที่ใช้เป็นระดับสามัญ บางครั้งมีภาษาระดับสนทนาเข้ามาปะปนด้วย ภาษาระดับกึ่งทางการในการติดต่อธุรกิจการงาน หรือใช้สื่อสารกับบุคคลที่ไม่สนิทสนมคุ้นเคยกัน และใช้ในการเขียนเรื่องที่ผู้เขียนต้องให้อ่ารู้สึกเหมือนกำลังฟังผู้เขียนเล่าเรื่องหรือเสนอความคิดเห็น อย่างไม่เคร่งเครียด เช่น การเขียนสารคดีท่องบทความแสดงความคิดเห็น หรือการเล่าเรื่องต่างๆ เช่น ชีวประวัติ เป็นต้น
๒.๒ ภาษาระดับสนทนา มีลักษณะของภาษาพูดที่เป็นกลางๆ สำหรับใช้ในการสนทนากันในชีวิตประจำวัน ระหว่างผู้ส่งสารที่รู้จักคุ้นเคยกัน นอกจากนั้นยังใช้ในการเจรจาซื้อขายทั่วไป รวมทั้งในการประชุมที่ไม่เป็นทางการ มีลักษณะรูปประโยคไม่ซับซ้อน ถ้อยคำที่ใช้อยู่ในระดับคำที่มีคำสแลง คำตัด คำย่อปะปนอยู่ แต่ตามปรกติจะไม่ใช้คำหยาบ ภาษาระดับสนทนาใช้ในการเขียน นวนิยาย บทความบทภาพยนตร์สารคดีบางเรื่อง และรายงานข่าว เป็นต้น
๒.๓ ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก เป็นภาษาที่ใช้สนทนากับผู้ที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมากๆ เช่น ในหมู่เพื่อนฝูง หรือในครอบครัว ละมักใช้พูดกันในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว ในโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครื้นเครง หรือในการทะเลาะด่าทอทอกัน ลักษณะของภาษาระดับกันเองหรือภาษาปากนี้มีคำตัด คำสแลง คำต่ำ คำหยาบ ปะปนอยู่มาก ตามปรกติจึงไม่ใช้ในการเขียนทั่วไป นอกจากในงานเขียนบางประเภท เช่น นวนิยาย หรือเรื่องสั้น บทละคร ข่าวกีฬา เป็น

แหล่งที่มา : http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/khwanchai/khwanchai-web2/content/Page2.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

free counters